สวัสดีปีใหม่อีกครั้งคะ ชาว EGO SPORT FAN
ในปีใหม่นี้ เราอยากที่จะให้ทุกคนเริ่มปีด้วยความเป็นสิริมงคล ด้วยการแนะนำ One day Trip ทำบุญ9วัด รอบเกาะรัตนโกสินทร์ แบบบุญพุ่งจรวด และพร้อมบอกประวัติความเป็นมา แต่ละวัดคร่าวๆกันค่ะ ไปดูกันเล้ยยย
1. ศาลหลักเมือง เรามาเริ่มที่ ศาลหลักเมืองก่อนนะคะ โดยศาลหลักเมืองกรุงเทพจะไหว้เพื่อความมั่นคงในชีวิต สักการะ เทพารักษ์ทั้ง5
เป็นศาลที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 พร้อมกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี ร.1 ได้โปรดเกล้าให้กระทำพิธียกเสาหลักเมือง
เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ ตรงกับวันที่ 21 เมษายน พ.ศ.2325 เวลา 6.45 นาฬิกา การฝังเสาหลักเมืองมีพิธีรีตองตามพระตำราที่
เรียกว่าพระราชพิธีนครฐานใช้ไม้ชัยพฤกษ์ทำเป็นเสาหลักเมือง ประกับด้านนอกด้วย ไม้แก่นจันทน์ ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางวัดที่โคนเสา 29 เซนติเมตร สูง 187 นิ้ว
กำหนดให้ความสูงของเสาหลักเมืองอยู่พ้นดิน 108 นิ้ว ฝังลงในดินลึก 79 นิ้ว มีเม็ดยอดรูปบัวตูม สวมลงบนเสาหลัก ลงรักปิดทอง
ล้วงภายในไว้เป็นช่องสำหรับบรรจุดวงชะตาเมืองตามธรรมเนียมพิธีพราหมณ์ ซึ่งเชื่อว่าก่อนที่จะสร้างเมืองจะต้องทำพิธียกเสาหลักเมืองในที่อันเป็นชัยภูมิสำคัญ
เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองที่จะสร้างขึ้น
ปัจจุบันมีประชาชนจากทั่วทิศหลั่งไหลกันไปสักการะบูชา และไหว้เพื่อ เสริมสิริมงคลกับชีวิต ขอพรให้เป็นหลักชัยของชีวิต
ให้มีหน้าที่การงานที่มั่นคงดังหลักชัย และขอพรให้สมหวังในสิ่งที่ตนปรารถนา หรือมาบนบาลกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้สมปรารถนา
ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บริเวณมุมด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของท้องสนามหลวง ตรงข้ามพระบรมมหาราชวัง เปิดเวลา 05.30 – 19.30 น. ทุกวัน
การเดินทางด้วยรถประจำทาง สาย 2, 3, 6,82, 59, 201, 91,60, 512, 25, 32, 33, 70, 203 รถปรับอากาศ สาย ปอ.3,6,82,59,201,91,60,512,2,25,32,33,70,203
2. วัดพระแก้ว หรือ (วัดพระศรีรัตนศาสดาราม) ก็เดินเท้ามาหน้าของศาลได้เลยค่ะ อยู่ไกล้กันมาก..เพียงแค่ข้ามถนนก็ถึงเลยจร้าา
วัดพระแก้ว ค่อนข้าง เข้มงวดเรื่องการแต่งกาย มว๊ากๆ ทั้งผู้หญิง/ผุ้ชายต้องเเต่งการสุภาพเรียบร้อยนะคะ
วัดพระแก้ว..หรือที่ชาวต่างชาติรู้จักในชื่อ Temple of Emerald Buddha เพราะมีสถาปัตยกรรมที่สวยงาน และเต็มไปด้วยเรื่องราวน่าสนใจมากมาย
หรือ “วัดพระศรีรัตนศาสดาราม” สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยราชกาลที่ 1 โดยตั้งอยู่ภายในเขตพระราชวัง ไม่มีพระภิกษุจำพรรษาค่ะ เปรียบเหมือนวัดคู่บ้านคู่เมือง
เลยก็ว่าได้ ภายในประดิษฐานพระพุทธมณีรัตนปฏิมากร หรือที่รู้จักกันในชื่อ “พระแก้วมรกต” พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของไทย นอกจากนี้ยังรายล้อมด้วยสถาปัตยกรรม
และศิปกรรมอันทรงคุณค่า งดงาม ความค่าแก่การชื่อชม สากับความเป็นไทยอย่างแท้จริง
3. วัดระฆัง เดินย้อนกลับไป ท่าช้าง เพื่อนั่งเรือข้ามฝาก ไปวัดระฆัง ไปสักการะ สมเด็จพระพุฒาจารย์โต เพื่อความนิยมชมชื่น
อย่าลืม ซื้อตั๋วแบบเหมา พาเที่ยว 30฿ วัดระฆัง-วัดกัลยาณ วัดอรุณ นะคะ
วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร หรือเป็นที่รู้จักกันในนาม วัดระฆัง เป็นพระอารามหลวงชั้นโท เดิมชื่อว่า “วัดบางว้าใหญ่” เป็นวัดโบราณมีมาตั้แต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา
พระอุโบสถเป็นสถาปัตยกรรมในสมัยราชกาลที่ 1 มีลายหน้าบันเป็นรูปนารายณ์ทรงครุฑ ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถนี้ เป็นที่ประดิษฐานของพระประธาน
ซึ่งรัชกาลที่ 5 ทรงเรียกว่า “พระประธานยิ้มรับฟ้า” นอกจากนี้ ยังมีหอไตรเป็นรูปเรือนสามหลังแฝด ภายในมีภาพจิตรกรรมที่สำคัญหลายแห่งทั้งบานประตู และฝาผนังรวมทั้ง
ตู้พระไตรปิฏกสมัยกรุงศรีอยุธยา วัดระฆังเคย เป็นที่ประทับของ พระสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) การไปสักการะสมเด็พุฒาจารย์ เพื่อขอพรโดยการสวดคาถาชินบัญชร
เมื่อสวดจบแล้วปักธูปที่กระถางและปิดทองที่รูปปั้น แล้วอย่าลืมพรมน้ำมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคล
4. เสร็จจากวัดระฆังก็มาที่ท่าเรือเตรียมตัวรอ นั่งเรือที่ท่าเรือวัดได้เลยจร้าาาา
เป็นวัดที่มีมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อว่า “วัดแจ้ง” วัดนี้ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 2 จึงถือเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 2 เมื่อบูรณะเสร็จแล้วได้พระราชทานนามว่า “วัดอรุณราชธาราม”
วัดอรุณ มีชื่อต็มว่า ” วัดอรุณราชวราราม มหาราชวรวิหาร “เป็นวัดที่สวยโดดเด่นริมน้ำเจ้าพระยา มีพระปรางค์ที่สูงที่สุดในประเทศไทย
สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ความสูงของพระปรางค์ในอดีตนั้นสูงประมาณ 8 วา ต่อมาพระเจ้าตากสินมหาราชมีพระราชประสงค์จะย้ายกรุงศรีอยุธยาราชธานี
มาที่กรุงธนบุรีภายหลังเสร็จภาระกิจจากการกอบกู้เอกราชเมื่อปี 2310 จึงได้เสด็จมาทางชลมารค เพื่อหาทำเลที่ตั้งราชธานีใหม่ จนมาถึงเวลารุ่งแจ้งที่วัดนี้
จึงได้ทรงเปลี่ยนชื่อว่า”วัดแจ้ง” ซึ่งมีความหมายว่าอรุณรุ่ง อันเป็นนิมิตหมายแห่งมงคลฤกษ์ ในการย้ายราชธานีมาตั้งยังกรุงธนบุรี ณ บริเวณวัดแจ้งแห่งนี้
5. นั่งเรือ โดยใช้ตั๋วเหมา ใบเดิม ไปที่ วัดกัลยาณมิตร สักการะพระประธาน เพื่อความสวัดีมีชัย เดินทางปลอดภัย
วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร (วัดกัลยา) ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งธนบุรี บริเวณปากคลองบางกอกใหญ่ เจ้าพระยานิกรบดินทร์ (โต กัลยาณมิตร)
ได้อุทิศบ้านและซื้อที่ดินข้างเคียงเพิ่มเติม สร้างเป็นวัดขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๘ แล้วน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓พระราชทานนามว่า
วัดกัลยาณมิตร และทรงสร้างพระราชทานทั้งพระวิหารหลวงและพระประธานสำหรับพระวิหารหลวง คือ หลวงพ่อโตหรือพระพุทธไตรรัตนนายก
โดยทรงมีพระราชประสงค์ให้เป็นพระพุทธรูปใหญ่อยู่ริมแม่น้ำแบบเดียวกันกับที่วัดพนัญเชิง กรุงเก่า หลวงพ่อโตเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูงโดยเฉพาะในหมู่ชาวจีน
เรียกชื่อแบบจีนว่า ซำปอฮุดกง หรือ ซำปอกง ภายในพระอุโบสถซึ่งมีขนาดเล็กกว่าพระวิหาร มีจิตรกรรมฝาผนังเรื่อง พุทธประวัติที่แทรกเรื่องราวชีวิตชาวบ้านชาวเมือง
สมัยรัชกาลที่ ๓ ซึ่งนอกจากจะมีคุณค่าทางวัฒนธรรมแล้ว ยังมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์สังคมอย่างยิ่งอีกด้วย
6. วัดโพธิ์ นั่งเรือ ข้ามฝาก จาก วัดอรุณ ไปขึ้นที่ท่าเตียน เพื่อเดินไป วัดโพธิ์ ไปสักการะ พระพุทธไสยาสน์ เพื่อความร่มเย็น เป็นสุข
วัดโพธิ์
วัดโพธิ์ หรือที่เรียกว่า “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม” เป็นวัดเก่าแก่ที่มีความสวยงาม และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของชาวต่างชาติที่มาเที่ยวกรุงเทพฯ
ที่ตั้งของวัดโพธิ์อยู่ที่ถนนมหาราช ข้างพระบรมมหาราชวัง ประวัติการสร้างวัดโพธิ์ไม่เป็นที่แน่ชัดว่าสร้างในสมัยอยุธยา หรือ
สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แต่อย่างไรก็ตามในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ได้มีการสถาปนาวัดใหม่เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ได้เล่าเรียนพระปริยัติธรรม วัดนี้ถือเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 1
ครั้’ถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะวัดโพธิ์ใหม่ทั้งหมด และได้นำเอาตำราวิชาการด้านต่าง ๆ
มาจารึกไว้โดยรอบ เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชน ถือได้ว่าวัดโพธิ์เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย
ด้วยความที่วัดโพธิ์เป็นวัดเก่าแก่ และ เป็นแหล่วงตำรา ความรู้ ทางยูเนสโก ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำโลกของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
เมื่อ มีนาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในความภาคภูมิใจของคนไทย
7. วัดชนะสงคราม นั่งรถเมล์ ปอ.32, 53,82 จากวัดโพธิ์ ไปลงท่าพระอาทิตย์ แล้วเดินข้ามฝั่งไป วัดชนะสงคราม สักการะพระประธาน เพื่อ จะมีชัยชนะต่ออุปสรรคทั้งปวง
เดิมชื่อ “วัดกลางนา” มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากรัชกาลที่ ๑ ทรงแต่งตั้งพระราชาคณะฝ่ายรามัญเป็นผู้ดูแลคนทั่วไปจึงเรียกตามภาษามอญว่า “วัดตองปุ”
กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงสถาปนาวัดนี้ขึ้นใหม่ เพื่อเป็นพุทธบูชา แล้วถวายวัดนี้เป็นพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
จึงพระราชทานนามใหม่ว่า วัดชนะสงคราม
วัดชนะสงครามมีพระอุโบสถ เป็นที่ประดิษฐานพระประธาน นามว่า “พระพุทธนรสีห์ตรีโลกเชฎฐ์มเหทธิศักดิ์ปูชนียะชยันตะโคดมบรมศาสดาอนาวรญาณ”
เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย
หลวงพ่อปู เป็นพระพุทธรูปที่มีความศักดิ์สิทธิ์มาก ตามตำนานกล่าวว่าก่อนที่สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทจะทรงออกรบ
พระองค์จะเสด็จมาสักการะพระประธานในพระอุโบสถของวัดชนะสงครามนี้ และทรงได้ชัยชนะในสงครามทุกครั้ง ปัจจุบันมีผู้ศรัทธามากราบไหว้พระรูปหล่อ
สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทและหลวงพ่อปู่เพื่อขอพรกันอยู่ทุกวันมิได้ขาด และเชื่อกันว่า ชื่ออันเป็นมงคลของวัน “ชนะสงคราม” จะช่วยดลให้ชนะอุปสรรคทั้งปวงได้
8. วัดบวร นั่งตุ๊กๆ จากวัดชนะสงคราม 40฿ ไป วัดบวร สักการะพระประธาน เพื่อ พบแต่สิ่งที่ดีงามในชีวิต และ ร่วมเคารพพระศพ องค์สมเด็จพระสังฆราช ด้วยคะ
วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร แต่แรกสร้างนั้นมีนามว่าวัดใหม่ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ ติดกับวัดรังษีสุทธาวาส
ซึ่งต่อมาได้รวมเป็นวัดเดียวกัน วัดใหม่ เปลี่ยนชื่อเป็น วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงอาราธนา พระมหาวชิรญาณเถร(เจ้าฟ้ามงกุฎ)
มาครองวัด นามที่พระราชทานใหม่นั้น แปลตรงตัวได้ว่า “ที่อยู่อันประเสริฐ” ทว่าซ่อนความหมายแฝงในฐานะของที่ประทับ “กรมพระราชวังบวรสถานมงคล”
หรือผู้ที่จะขึ้นครองราชย์เป็นลำดับต่อไป
เมื่อพระมหาวชิรญาณเถร ได้เถลิงถวัลยราชสมบัติขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์แล้ว
ก็เป็นธรรมเนียมสืบต่อมา หากพระมหากษัตริย์ หรือพระบรมวงศานุวงศ์ทรงผนวชเมื่อใด ก็จะเสด็จมาประทับจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร แห่งนี้
ตอนนี้ หลังจาก พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2560 ซึ่งเป็น
พระราชพิธีเชิญพระบรมราชสรีรางคาร มาบรรจุ ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม และ วัดบวรนิเวศวิหาร
ล่าสุดวันนี้ 30 ตุลาคม วัดบวรนิเวศวิหาร เปิดให้พสกนิกร เข้ากราบพระบรมราชสรีรางคาร รัชกาลที่ 9 ที่ฐานพุทธบัลลังก์ พระพุทธชินสีห์
พระประธานในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ตั้งแต่เวลา 08.30 – 21.00 น.
9. วัดสุทัศน์ จากวัดบวร เดินเท้า ไปต่อ ที่ วัดสุทัศน์ สักการะ พระศรีศายมุนี เพื่อ มีเสน่ห์แก่คนทั่วไป
วัดสุทัศนเทพวราราม เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นใน พ.ศ. 2350
เดิมพระราชทานนามว่า “วัดมหาสุทธาวาส” โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระวิหารขึ้นก่อนเพื่อประดิษฐานพระศรีศากยมุนี (พระโต)
ซึ่งอัญเชิญมาจากพระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะสร้างพระวิหารให้มีขนาดใหญ่เท่ากับพระวิหารวัดพนัญ
เชิงเพื่อเป็นศรีสง่าแก่พระนคร แต่สิ้นรัชกาลก่อนที่จะประดิษฐานเป็นสังฆาราม จึงเรียกกันว่า วัดพระโต วัดพระใหญ่ หรือวัดเสาชิงช้าบ้าง
จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) โปรดเกล้าฯ ให้สร้างต่อ และทรงจำหลักบานประตูพระวิหารด้วยพระองค์เอง
แต่ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อนที่การก่อสร้างจะแล้วเสร็จ
การก่อสร้างวัด มาเสร็จบริบูรณ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ใน พ.ศ. 2390 และพระราชทานนามว่า “วัดสุทัศนเทพวราราม”
ปรากฏในจดหมายเหตุว่า “วัดสุทัศนเทพธาราม”
และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงผูกนามพระประธานในพระวิหาร พระอุโบสถ
และศาลาการเปรียญ ให้คล้องกันว่า “พระศรีศากยมุนี” “พระพุทธตรีโลกเชษฐ์” และ “พระพุทธเสรฏฐมุนี” ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)
ทรงปฎิสังขรณ์เพิ่มเติมอีก
ภายในวัดสุทัศนเทพวรารามยังเป็นที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิด
เดินทางทั้งวันแบบนี้ แอดมินแนะนำให้ทุกท่านแต่งกายที่ทะมัดทะแมง และสวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศง่าย แห้งไว อย่างเช่น เสื้อโปโลคอปก รุ่น EG6115 จากอีโก้สปอร์ต ทรงสวย แห้งไว คล่องตัว