EGO PRIME by EGO

 

EGO PRIME BY EGO (อีโก้ไพร์ม)

คอลเลคชั่นล่าสุดจากอีโก้ไพร์ม ที่จะเปลี่ยนแนวคิดเดิมๆของแบรนด์ชุดกีฬาไทย

กับสุดยอดนวัตกรรม Hidrosmart-ไฮโดรสมาร์ท ที่แรก และ ที่เดียวในประเทศไทย

—————————————————————————————————————————————–

HIDROSMART Technology (ไฮโดรสมาร์ท)

ความสบายที่คุณควบคุมได้

การนำ 2 สุดยอดเทคโนโลยีมาผสมผสานเข้าด้วยกัน จากเส้นด้ายที่ทักทอแบบพิเศษเพื่อให้เนื้อผ้ามีคุณสมบัติการระบายอากาศขั้นสูงสุด และเหนือกว่าด้วยนวัตกรรมจากประเทศสวิสเซอร์แลนด์กับการควบคุมอุณหภูมิในร่างกายของคุณ เพิ่มประสิทธิภาพและความมั่นใจในทุกกิจกรรม

คุณสมบัติ จาก เทคโนโลยี Hidrosmart -ไฮโดรสมาร์ท: 
* ใส่สบาย- กับเนื้อผ้าสัมผัสนุ่ม เพิ่มสปีดการวิ่งของคุณ
* แห้งเร็ว- หมดกังวลกับการเปลี่ยนเสื้อระหว่างเกม
* คล่องตัว- รูปแบบทันสมัย ทรงดี มั่นใจ

กับสีสันใหม่ที่ไม่เหมือนใคร กับ 6 คู่เฉดสี- ดำ, ขาว, บลูเบอรรี่, ฟ้าแอมพาโร่, เขียวพูลกรีน, และ แดงป๊อปปี้

********************************************

EGO PRIME: PM111 (SUPREMO)

EGO PRIME: PM112 (OPTIMO)

 

EGO PRIME: PM113 (ATTIVO)

 

 

 

EGO TOGETHER AS 1

Sorry, this entry is only available in Thai.

 

เมื่อวันที่ 4-5 กุมภาพันธ์ 2561 ที่ผ่านมา
ทางบริษัทได้จัดงาน EGO SPORT STAFF PARTY
ภายใต้คอนเซป “EGO TOGETHER AS 1”
และวันนี้ได้นำภาพบรรยากาศภายในกิจกรรมมาฝากกันนะค่ะ

ติดตามชมภาพความประทับใจได้ที่ : https://www.facebook.com/pg/EgoSportFanPage/photos/?tab=album&album_id=1562348817218076 

KBank Enjoy The Exquisite Golf 2018

Sorry, this entry is only available in Thai.

 

งานแถลงข่าว สุดยอดแมทซ์การแข่งขัน
KBank Enjoy The Exquisite Golf 2018 ที่ Novotel Bangkok Bangna Hotel

ทาง Ego Sport ได้รับเกียรติจาก @KBank Golf Lovers ให้
ร่วมสนับสนุนเสื้อแข่งขันในงานครั้งนี้อย่างเป็นทางการค่ะ

EGO SPORT  ออกบูทที่งาน FITFEST

Sorry, this entry is only available in Thai.

               ขอขอบคุณ คุณลูกค้า ที่มาเยี่ยมชมบูทและให้การตอบรับให้การตอบรับเป็นอย่างดี และขอบคุณ พี่วู้ดดี้และผู้จัดงาน Fitfest ที่จัดงานนี้และให้เกียรติทาง Ego Sport ได้มาออกบูทและเป็นส่วนหนึ่งของงานนะคะ ไว้โอกากาสหน้า เราจะนำโปรโมชั่นดีๆแบบนี้ และกิจกรรมพิเศษไปมอบให้ทางคุณลูกค้าอีกนะคะ แล้วพบกันโอกาสหน้าค่ะ

“รู้คิด รู้เท่าทัน สร้างสรรค์เทคโนโลยี”

เมื่อผ่านพ้นเทศกาลเฉลิมฉลองในช่วงปีใหม่ ก็ถึงคิวของวันมหัศจรรย์ของเด็ก ๆ นั่นคือ “วันเด็กแห่งชาติ” ที่ถูกกำหนดให้ตรงกับวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคมของทุกปี และวันเด็ก 2561 ตรงกับวันเสาร์ ที่ 13 มกราคม ซึ่ง พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้ คําขวัญวันเด็ก 2561 ว่า “รู้คิด รู้เท่าทัน สร้างสรรค์เทคโนโลยี”

เนื่องในวันเด็กแห่งชาติปีนี้ แอดมินขอให้เด็กๆ ชาวอีโก้ทุกคน ได้นำคำขวัญเป็นแรงจูงใจในการสร้างสรรค์สิ่งดีๆให้กับสังคม เป็นอนาคตของชาติต่อไปนะคะ

สวัสดีปีใหม่อีกครั้งค่ะ ชาว EGO SPORT FAN

สวัสดีปีใหม่อีกครั้งค่ะ ชาว EGO SPORT FAN
ในปีใหม่นี้ เราอยากที่จะให้ทุกคนเริ่มปีด้วยความเป็นสิริมงคล ด้วยการแนะนำ One day Trip ทำบุญ 9 วัด รอบเกาะรัตนโกสินทร์ แบบบุญพุ่งจรวด และพร้อมบอกประวัติความเป็นมา แต่ละวัดคร่าวๆ กันค่ะ ไปดูกันเล้ยยย

 

1. ศาลหลักเมือง เรามาเริ่มที่ ศาลหลักเมืองก่อนนะคะ โดยศาลหลักเมืองกรุงเทพจะไหว้เพื่อความมั่นคงในชีวิต สักการะ เทพารักษ์ทั้ง 5

ศาลหลักเมือง

เป็นศาลที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 พร้อมกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี ร.1 ได้โปรดเกล้าให้กระทำพิธียกเสาหลักเมือง
เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ ตรงกับวันที่ 21 เมษายน พ.ศ.2325 เวลา 6.45 นาฬิกา การฝังเสาหลักเมืองมีพิธีรีตองตามพระตำราที่
เรียกว่าพระราชพิธีนครฐานใช้ไม้ชัยพฤกษ์ทำเป็นเสาหลักเมือง ประกับด้านนอกด้วย ไม้แก่นจันทน์ ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางวัดที่โคนเสา 29 เซนติเมตร สูง 187 นิ้ว
กำหนดให้ความสูงของเสาหลักเมืองอยู่พ้นดิน 108 นิ้ว ฝังลงในดินลึก 79 นิ้ว มีเม็ดยอดรูปบัวตูม สวมลงบนเสาหลัก ลงรักปิดทอง
ล้วงภายในไว้เป็นช่องสำหรับบรรจุดวงชะตาเมืองตามธรรมเนียมพิธีพราหมณ์ ซึ่งเชื่อว่าก่อนที่จะสร้างเมืองจะต้องทำพิธียกเสาหลักเมืองในที่อันเป็นชัยภูมิสำคัญ
เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองที่จะสร้างขึ้น

ปัจจุบันมีประชาชนจากทั่วทิศหลั่งไหลกันไปสักการะบูชา และไหว้เพื่อ เสริมสิริมงคลกับชีวิต ขอพรให้เป็นหลักชัยของชีวิต
ให้มีหน้าที่การงานที่มั่นคงดังหลักชัย และขอพรให้สมหวังในสิ่งที่ตนปรารถนา หรือมาบนบาลกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้สมปรารถนา

ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บริเวณมุมด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของท้องสนามหลวง ตรงข้ามพระบรมมหาราชวัง เปิดเวลา 05.30 – 19.30 น. ทุกวัน
การเดินทางด้วยรถประจำทาง สาย 2, 3, 6,82, 59, 201, 91,60, 512, 25, 32, 33, 70, 203 รถปรับอากาศ สาย ปอ.3,6,82,59,201,91,60,512,2,25,32,33,70,203

 

2. วัดพระแก้ว หรือ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ก็เดินเท้ามาหน้าของศาลได้เลยค่ะ อยู่ไกล้กันมาก..เพียงแค่ข้ามถนนก็ถึงเลยจร้าา

วัดพระแก้ว

วัดพระแก้ว ค่อนข้าง เข้มงวดเรื่องการแต่งกาย มว๊ากๆ ทั้งผู้หญิง/ผุ้ชายต้องเเต่งการสุภาพเรียบร้อยนะคะ

วัดพระแก้ว..หรือที่ชาวต่างชาติรู้จักในชื่อ Temple of Emerald Buddha เพราะมีสถาปัตยกรรมที่สวยงาน และเต็มไปด้วยเรื่องราวน่าสนใจมากมาย
หรือ “วัดพระศรีรัตนศาสดาราม” สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยราชกาลที่ 1 โดยตั้งอยู่ภายในเขตพระราชวัง ไม่มีพระภิกษุจำพรรษาค่ะ เปรียบเหมือนวัดคู่บ้านคู่เมือง
เลยก็ว่าได้ ภายในประดิษฐานพระพุทธมณีรัตนปฏิมากร หรือที่รู้จักกันในชื่อ “พระแก้วมรกต” พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของไทย นอกจากนี้ยังรายล้อมด้วยสถาปัตยกรรม
และศิปกรรมอันทรงคุณค่า งดงาม ความค่าแก่การชื่อชม สากับความเป็นไทยอย่างแท้จริง

 

3. วัดระฆัง เดินย้อนกลับไป ท่าช้าง เพื่อนั่งเรือข้ามฝาก ไปวัดระฆัง ไปสักการะ สมเด็จพระพุฒาจารย์โต เพื่อความนิยมชมชื่น

อย่าลืม ซื้อตั๋วแบบเหมา พาเที่ยว 30฿ วัดระฆัง-วัดกัลยาณ วัดอรุณ นะคะ

วัดระฆัง

วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร หรือเป็นที่รู้จักกันในนาม วัดระฆัง เป็นพระอารามหลวงชั้นโท เดิมชื่อว่า “วัดบางว้าใหญ่” เป็นวัดโบราณมีมาตั้แต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา
พระอุโบสถเป็นสถาปัตยกรรมในสมัยราชกาลที่ 1 มีลายหน้าบันเป็นรูปนารายณ์ทรงครุฑ ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถนี้ เป็นที่ประดิษฐานของพระประธาน
ซึ่งรัชกาลที่ 5 ทรงเรียกว่า “พระประธานยิ้มรับฟ้า” นอกจากนี้ ยังมีหอไตรเป็นรูปเรือนสามหลังแฝด ภายในมีภาพจิตรกรรมที่สำคัญหลายแห่งทั้งบานประตู และฝาผนังรวมทั้ง
ตู้พระไตรปิฏกสมัยกรุงศรีอยุธยา วัดระฆังเคย เป็นที่ประทับของ พระสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) การไปสักการะสมเด็พุฒาจารย์ เพื่อขอพรโดยการสวดคาถาชินบัญชร
เมื่อสวดจบแล้วปักธูปที่กระถางและปิดทองที่รูปปั้น แล้วอย่าลืมพรมน้ำมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคล

 

4. วัดอรุณราชธาราม เสร็จจากวัดระฆังก็มาที่ท่าเรือเตรียมตัวรอ นั่งเรือที่ท่าเรือวัดได้เลยจร้าาาา
วัดอรุณราชธาราม

 

เป็นวัดที่มีมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อว่า “วัดแจ้ง” วัดนี้ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 2 จึงถือเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 2 เมื่อบูรณะเสร็จแล้วได้พระราชทานนามว่า “วัดอรุณราชธาราม”
วัดอรุณ มีชื่อต็มว่า ” วัดอรุณราชวราราม มหาราชวรวิหาร “เป็นวัดที่สวยโดดเด่นริมน้ำเจ้าพระยา มีพระปรางค์ที่สูงที่สุดในประเทศไทย
สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ความสูงของพระปรางค์ในอดีตนั้นสูงประมาณ 8 วา ต่อมาพระเจ้าตากสินมหาราชมีพระราชประสงค์จะย้ายกรุงศรีอยุธยาราชธานี
มาที่กรุงธนบุรีภายหลังเสร็จภาระกิจจากการกอบกู้เอกราชเมื่อปี 2310 จึงได้เสด็จมาทางชลมารค เพื่อหาทำเลที่ตั้งราชธานีใหม่ จนมาถึงเวลารุ่งแจ้งที่วัดนี้
จึงได้ทรงเปลี่ยนชื่อว่า”วัดแจ้ง” ซึ่งมีความหมายว่าอรุณรุ่ง อันเป็นนิมิตหมายแห่งมงคลฤกษ์ ในการย้ายราชธานีมาตั้งยังกรุงธนบุรี ณ บริเวณวัดแจ้งแห่งนี้

 

5.  นั่งเรือ โดยใช้ตั๋วเหมา ใบเดิม ไปที่ วัดกัลยาณมิตร สักการะพระประธาน เพื่อความสวัดีมีชัย เดินทางปลอดภัย

วัดกัลยาณมิตร

วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร (วัดกัลยา) ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งธนบุรี บริเวณปากคลองบางกอกใหญ่ เจ้าพระยานิกรบดินทร์ (โต กัลยาณมิตร)
ได้อุทิศบ้านและซื้อที่ดินข้างเคียงเพิ่มเติม สร้างเป็นวัดขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๘ แล้วน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓พระราชทานนามว่า
วัดกัลยาณมิตร และทรงสร้างพระราชทานทั้งพระวิหารหลวงและพระประธานสำหรับพระวิหารหลวง คือ หลวงพ่อโตหรือพระพุทธไตรรัตนนายก
โดยทรงมีพระราชประสงค์ให้เป็นพระพุทธรูปใหญ่อยู่ริมแม่น้ำแบบเดียวกันกับที่วัดพนัญเชิง กรุงเก่า หลวงพ่อโตเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูงโดยเฉพาะในหมู่ชาวจีน
เรียกชื่อแบบจีนว่า ซำปอฮุดกง หรือ ซำปอกง ภายในพระอุโบสถซึ่งมีขนาดเล็กกว่าพระวิหาร มีจิตรกรรมฝาผนังเรื่อง พุทธประวัติที่แทรกเรื่องราวชีวิตชาวบ้านชาวเมือง
สมัยรัชกาลที่ ๓ ซึ่งนอกจากจะมีคุณค่าทางวัฒนธรรมแล้ว ยังมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์สังคมอย่างยิ่งอีกด้วย

 

6. วัดโพธิ์ นั่งเรือ ข้ามฝาก จาก วัดอรุณ ไปขึ้นที่ท่าเตียน เพื่อเดินไป วัดโพธิ์ ไปสักการะ พระพุทธไสยาสน์ เพื่อความร่มเย็น เป็นสุข

วัดโพธิ์

วัดโพธิ์ หรือที่เรียกว่า “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม” เป็นวัดเก่าแก่ที่มีความสวยงาม และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของชาวต่างชาติที่มาเที่ยวกรุงเทพฯ
ที่ตั้งของวัดโพธิ์อยู่ที่ถนนมหาราช ข้างพระบรมมหาราชวัง ประวัติการสร้างวัดโพธิ์ไม่เป็นที่แน่ชัดว่าสร้างในสมัยอยุธยา หรือ
สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แต่อย่างไรก็ตามในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ได้มีการสถาปนาวัดใหม่เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ได้เล่าเรียนพระปริยัติธรรม วัดนี้ถือเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 1
ครั้’ถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะวัดโพธิ์ใหม่ทั้งหมด และได้นำเอาตำราวิชาการด้านต่าง ๆ
มาจารึกไว้โดยรอบ เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชน ถือได้ว่าวัดโพธิ์เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย

ด้วยความที่วัดโพธิ์เป็นวัดเก่าแก่ และ เป็นแหล่วงตำรา ความรู้ ทางยูเนสโก ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำโลกของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
เมื่อ มีนาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในความภาคภูมิใจของคนไทย

 

7. วัดชนะสงคราม นั่งรถเมล์ ปอ.32, 53,82 จากวัดโพธิ์ ไปลงท่าพระอาทิตย์ แล้วเดินข้ามฝั่งไป วัดชนะสงคราม สักการะพระประธาน เพื่อ จะมีชัยชนะต่ออุปสรรคทั้งปวง

วัดชนะสงคราม

เดิมชื่อ “วัดกลางนา” มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากรัชกาลที่ ๑ ทรงแต่งตั้งพระราชาคณะฝ่ายรามัญเป็นผู้ดูแลคนทั่วไปจึงเรียกตามภาษามอญว่า “วัดตองปุ”
กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงสถาปนาวัดนี้ขึ้นใหม่ เพื่อเป็นพุทธบูชา แล้วถวายวัดนี้เป็นพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
จึงพระราชทานนามใหม่ว่า วัดชนะสงคราม
วัดชนะสงครามมีพระอุโบสถ เป็นที่ประดิษฐานพระประธาน นามว่า “พระพุทธนรสีห์ตรีโลกเชฎฐ์มเหทธิศักดิ์ปูชนียะชยันตะโคดมบรมศาสดาอนาวรญาณ”
เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย

หลวงพ่อปู เป็นพระพุทธรูปที่มีความศักดิ์สิทธิ์มาก ตามตำนานกล่าวว่าก่อนที่สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทจะทรงออกรบ
พระองค์จะเสด็จมาสักการะพระประธานในพระอุโบสถของวัดชนะสงครามนี้ และทรงได้ชัยชนะในสงครามทุกครั้ง ปัจจุบันมีผู้ศรัทธามากราบไหว้พระรูปหล่อ
สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทและหลวงพ่อปู่เพื่อขอพรกันอยู่ทุกวันมิได้ขาด และเชื่อกันว่า ชื่ออันเป็นมงคลของวัน “ชนะสงคราม” จะช่วยดลให้ชนะอุปสรรคทั้งปวงได้

 

8. วัดบวร นั่งตุ๊กๆ จากวัดชนะสงคราม 40฿ ไป วัดบวร สักการะพระประธาน เพื่อ พบแต่สิ่งที่ดีงามในชีวิต และ ร่วมเคารพพระศพ องค์สมเด็จพระสังฆราช ด้วยค่ะ

วัดบวร

วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร แต่แรกสร้างนั้นมีนามว่าวัดใหม่ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ ติดกับวัดรังษีสุทธาวาส
ซึ่งต่อมาได้รวมเป็นวัดเดียวกัน วัดใหม่ เปลี่ยนชื่อเป็น วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงอาราธนา พระมหาวชิรญาณเถร(เจ้าฟ้ามงกุฎ)
มาครองวัด นามที่พระราชทานใหม่นั้น แปลตรงตัวได้ว่า “ที่อยู่อันประเสริฐ” ทว่าซ่อนความหมายแฝงในฐานะของที่ประทับ “กรมพระราชวังบวรสถานมงคล”
หรือผู้ที่จะขึ้นครองราชย์เป็นลำดับต่อไป

เมื่อพระมหาวชิรญาณเถร ได้เถลิงถวัลยราชสมบัติขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์แล้ว
ก็เป็นธรรมเนียมสืบต่อมา หากพระมหากษัตริย์ หรือพระบรมวงศานุวงศ์ทรงผนวชเมื่อใด ก็จะเสด็จมาประทับจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร แห่งนี้

ตอนนี้ หลังจาก พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2560 ซึ่งเป็น
พระราชพิธีเชิญพระบรมราชสรีรางคาร มาบรรจุ ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม และ วัดบวรนิเวศวิหาร

ล่าสุดวันนี้ 30 ตุลาคม วัดบวรนิเวศวิหาร เปิดให้พสกนิกร เข้ากราบพระบรมราชสรีรางคาร รัชกาลที่ 9 ที่ฐานพุทธบัลลังก์ พระพุทธชินสีห์
พระประธานในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ตั้งแต่เวลา 08.30 – 21.00 น.

 

9. วัดสุทัศน์ จากวัดบวร เดินเท้า ไปต่อ ที่ วัดสุทัศน์ สักการะ พระศรีศายมุนี เพื่อ มีเสน่ห์แก่คนทั่วไป

วัดสุทัศน์

วัดสุทัศนเทพวราราม เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นใน พ.ศ. 2350
เดิมพระราชทานนามว่า “วัดมหาสุทธาวาส” โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระวิหารขึ้นก่อนเพื่อประดิษฐานพระศรีศากยมุนี (พระโต)
ซึ่งอัญเชิญมาจากพระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะสร้างพระวิหารให้มีขนาดใหญ่เท่ากับพระวิหารวัดพนัญ
เชิงเพื่อเป็นศรีสง่าแก่พระนคร แต่สิ้นรัชกาลก่อนที่จะประดิษฐานเป็นสังฆาราม จึงเรียกกันว่า วัดพระโต วัดพระใหญ่ หรือวัดเสาชิงช้าบ้าง

จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) โปรดเกล้าฯ ให้สร้างต่อ และทรงจำหลักบานประตูพระวิหารด้วยพระองค์เอง
แต่ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อนที่การก่อสร้างจะแล้วเสร็จ
การก่อสร้างวัด มาเสร็จบริบูรณ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ใน พ.ศ. 2390 และพระราชทานนามว่า “วัดสุทัศนเทพวราราม”
ปรากฏในจดหมายเหตุว่า “วัดสุทัศนเทพธาราม”

และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงผูกนามพระประธานในพระวิหาร พระอุโบสถ
และศาลาการเปรียญ ให้คล้องกันว่า “พระศรีศากยมุนี” “พระพุทธตรีโลกเชษฐ์” และ “พระพุทธเสรฏฐมุนี” ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)
ทรงปฎิสังขรณ์เพิ่มเติมอีก

ภายในวัดสุทัศนเทพวรารามยังเป็นที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิด

เดินทางทั้งวันแบบนี้ แอดมินแนะนำให้ทุกท่านแต่งกายที่ทะมัดทะแมง และสวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศง่าย แห้งไว อย่างเช่น เสื้อโปโลคอปก รุ่น EG6115 จากอีโก้สปอร์ต ทรงสวย แห้งไว คล่องตัว